ถุงรองกล่องโฟมสำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

การปลูกผักจะง่ายขึ้น หากใช้ถุงรองกล่องโฟม

หัวใจหลักของการใช้ถุงรองกล่องโฟมสำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้น เพื่อให้การดูแลเปลี่ยนน้ำทำความสะอาดได้ง่าย
และยืดอายุการใช้งานของกล่องโฟม ไม่ให้เกิดเชื้อรา ทั้งนี้ ผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะมักเรียกถุงเหล่านี้ว่าถุงกล่องกุ้ง หรือถุงกล่องปลา
ซึ่งเป็นขนาดของกล่องโฟมที่ทางผู้ใช้งานเลือกใช้ในการปลูกแปลงผักนั่นเอง…

ถุงรองกล่องโฟมสีดำสำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

ข้อแนะนำการใช้ถุงรองกล่องโฟมสำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

  • ควรเลือกเป็นพลาสติกเกรดอาหาร  เพราะจะกันน้ำ ไม่รั่วซึม ทนต่อการใช้งานกลางแจ้ง
  • ควรเลือกใช้ถุงที่ขนาดพอดีกับกล่องโฟม ลดการเคลื่อนตัวของพลาติก (สามารถคำนวณขนาดถุงรองในกล่อง)

เลือกถุงรองกล่องแบบไหนดี? สีดำหรือสีฟ้า

ถุงสีดำ จะเหมาะกับการใช้งานทั่วไป เพราะช่วยกันแสงได้ดี ลดการเกิดสาหร่ายในน้ำ และช่วยให้ยืดอายุของกล่องโฟม ให้ใช้งานได้นาน แต่ข้อเสียคือจะดูมืด ไม่ค่อยสะอาดตาสักเท่าไหร่

 ถุงสีฟ้า เหมาะกับฟาร์มที่ต้องการให้ภาพลักษณ์ดูสะอาด เช่น ฟาร์มออแกนิกหรือโรงเรือนที่เปิดให้ลูกค้าเลือกซื้อได้ เพราะถุงสีฟ้า ดูสว่าง สะอาด สามารถเห็นคราบสิ่งสกปรกได้ง่าย แต่ข้อเสียอาจจะกันแสงได้ไม่สนิท อาจต้องหาวิธีลดแสงร่วมด้วย เช่น สั่งผลิตถุงที่เพิ่มแม่สีให้สีทึบยิ่งขึ้น

ถุงรองกล่องโฟมสีดำสำหรับปลูกแปลงผัก

หากสนใจสั่งผลิตถุงรองกล่องโฟมสามารถติดต่อเราได้ที่ @thaihong หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประเมินราคาถุงรองกล่องได้ค่ะ

การควบคุมความหนาระหว่างการผลิตถุงพลาสติก

การใช้อุปกรณ์ไมโครมิเตอร์เป็นหนึ่งในวิธีที่สะดวกและได้ค่าความหนาทันทีขณะที่ทำการวัดความหนาระหว่างการผลิตถุงพลาสติก

วิธีการควบคุมความหนาระหว่างการผลิตถุงพลาสติกด้วยไมโครมิเตอร์

การวัดความหนาฟิล์มพลาสติกด้วยไมโครมิเตอร์เป็นวิธีที่ง่ายและสามารถอ่านค่าความหนาได้ทันทีขณะที่กำลังทำการตรวจสอบ ซึ่ง 1 ช่องบนไมโครมิเตอร์จะเท่ากับ 0.01 mm หรือ 10 ไมครอน ซึ่งทางโรงงานผลิตถุงพลาสติก ไทยฮง เลือกใช้อุปกรณ์ไมโครมิเตอร์ที่ได้มาตรฐาน ยี่ห้อ Teclock ผลิตที่ประเทศญี่ปุ่น พร้อมเอกสารรับรองการสอบเทียบ แต่วิธีนี้จะมีข้อจำกัดที่อาจจะทำให้เกิดความเคลื่อนระหว่างการผลิตได้แก่

ข้อจำกัดของการใช้ไมโครมิเตอร์

  • ระยะในการวัดความหนาของไมโครมิเตอร์ลึกสุด 12 cm ในกรณีที่ฟิล์มพลาสติกมีขนาดใหญ่กว่านั้นจะทำให้อุปกรณ์เข้าไปถึงทุกจุด
  • ฟิล์มพลาสติกไม่มีความเรียบ โดยเฉพาะการผลิตฟิล์มพลาสติกเกรดรีไซเคิล
  • ระหว่างการผลิตถุงพลาสติกจะมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา อาจจะทำให้อ่านค่าผิดพลาดได้ง่าย
การใช้งานเครื่องชั่งความละเอียดสูงสำหรับตรวจสอบน้ำหนักของถุงพลาสติกระหว่างการผลิตเพื่อควบคุมความหนา

วิธีการใช้เครื่องชั่งความละเอียดสูงในการควบคุมความหนา

จากข้อจำกัดข้างต้นของอุปกรณ์ไมโครมิเตอร์ ทางโรงงานผลิตถุงพลาสติก ไทยฮง ได้มีการออกแบบและพัฒนากระบวนการตรวจสอบคุณภาพของถุงพลาสติกเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าจะได้ถุงพลาสติกที่ได้มาตรฐานตรงตามความต้องการ ถุงไม่หนาและบางจนเกินไป โดยการใช้เครื่องชั่งความละเอียดสูงแบบดิจิตัล ที่หน่วยการแสดงผลเป็นกรัม และมีความละเอียดสูงสุดที่ระดับ 0.1 กรัมโดยวิธีการควบคุมความหนาของการผลิตถุงพลาสติกชั่งน้ำหนักจะอาศัยหลักการความหนาแน่นของพลาสติก Polyethylene ที่ 0.920 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ประกอบกับการนำถุงพลาสติกมาคำนวณหาปริมาตรที่แท้จริง

ตัวอย่างการคำนวณปริมาตรและน้ำหนักของถุงพลาสติก

ยกตัวอย่างเช่น ถุงพลาสติก LDPE ขนาดกว้าง 50 cm X ยาว 120 cm และความหนา 0.15 mm/คู่
  1. คำนวณหาปริมาตรโดยการคูณ 50 X 120 X 0.15/10 = 90 cm³ 
  2. ตรวจสอบความหนาแน่นของพลาสติก ในกรณี LDPE ความหนาแน่นเท่ากับ 0.920 g/cm³
  3. คำนวณน้ำหนักที่ควรจะเป็นโดยการคูณความหนาแน่นกับปริมาตรที่คำนวณได้ 90 X 0.920 = 82.8 กรัม
  4. ทำการเปรียบเทียบน้ำหนักที่คำนวณได้และน้ำหนักที่ชั่งได้จริง
  5. ทำการปรับความหนาระหว่างผลิตและทำการตรวจสอบซ้ำอีกครั้ง

วิธีผลิตถุงพลาสติกแบบมีสี

การเป่าม้วนพลาสติกแบบผสมแม่สี

การผลิตถุงพลาสติกแบบถุงสีทั้งใบ

ในอุตสาหกรรมพลาสติก ถุงพลาสติกแบบถุงสีใบได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ใช่เพื่อเพียงแค่ความสวยงาม แต่ยังตอบโจทย์ด้านการใช้งาน เช่น ปิดบังสินค้า  การแยกประเภทของสินค้า หรือเพิ่มความดึงดูดใจให้กับตัวสินค้า

แม่สีเม็ดพลาสติกส่วนประกอบหลักในการถุงสีทำใบ

ขั้นตอนการผลิตถุงพลาสติกแบบถุงสีทั้งใบ

  1. การเลือกเม็ดพลาสติก
    โดยปกติการผลิตถุงจะเริ่มต้นจากเม็ดพลาสติกประเภท HDPE หรือ LDPE ซึ่งในกรณีถุงสี จะมีการเติมเม็ดสีหรือที่เรียกว่า Color Masterbatch ลงไปผสมกับเม็ดพลาสติกใสในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้สีนั้นออกมาสม่ำเสมอทั่วทั้งเนื้อพลาสติก
  2. กระบวนการเป่าม้วนพลาสติก
    เมือเม็ดพลาสติกที่ผสมเข้ากันดีเรียบร้อยแล้วจะนำไปเทเข้าสู่เครื่องเป่าม้วนพลาสติก เมื่อความร้อนทำให้เม็ดพลาสติกละลาย เครื่องจะเป่าพลาสติกเป็นลูกโป่งออกมาเป็นหลอดพลาสติก ซึ่งในระหว่างนี้จะควบคุมการแต่ง หน้ากว้างของพลาสติก และความหนาของพลาสติก ให้เหมาะสมกับการใช้งานตามความต้องการของลูกค้า
  3. การตัดถุงและซีลก้นถุง
    หลังจากได้ม้วนพลาสติกสีมาแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการตัดให้ได้ความยาวที่ต้องการ และทำการซีลก้นถุงตามรูปแบบ เช่น ถุงหูหิ้ว ถุงหูเจาะ เป็นต้น
  4. การควบคุมคุณภาพ
    ก่อนจัดส่งสินค้า ทางเราจะมีการตรวจสอบในเรื่อง ขนาด สี ความหนา และการซีลก้นถุง ว่าตรงตามมาตรฐานหรือไม่ งานถุงสีที่ไม่ได้คุณภาพ เช่น สีไม่สม่ำเสมอ ขนาดไม่ได้มาตรฐาน จะถูกคัดแยกออกจากสายการผลิต

ถุงสีทั้งใบที่ใช้เม็ดสีลาสติกเป็นวัตุถิบในการผลิต

มั่นใจทุกงานพิมพ์ ไม่มีการผสมสีหน้างาน

รูปถังสีวางอยู่ในไลน์ผลิต จำนวน 5 ถัง วางอยู่หน้าเครื่องพิมพ์สี

ไทยฮงสั่งสีเบอร์ตรงจากผู้ผลิตเท่านั้น

ในวงการบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์บนถุงพลาสติก การควบคุมคุณภาพ “สี” เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการสร้างแบรนด์และความประทับใจแรกของลูกค้า หากสีพิมพ์ไม่แม่นยำ ไม่สม่ำเสมอ หรือเปลี่ยนไปแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคได้อย่างมหาศาล

ด้วยเหตุนี้เอง ไทยฮงจึงยึดมั่นในมาตรฐานการควบคุมสีอย่างเข้มงวด ด้วยนโยบายที่ชัดเจน: “ไม่มีการผสมสีพิมพ์ที่หน้างานโดยเด็ดขาด” แต่จะ สั่งสีสำเร็จรูป (สีเบอร์ตรง) โดยตรงจากผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐาน เท่านั้น


เหตุผลที่ไทยฮงเลือกใช้สีเบอร์ตรงจากผู้ผลิตโดยไม่ผสมเอง

1. แม่นยำทุกครั้ง ไม่เสี่ยงต่อความคลาดเคลื่อน

การผสมสีที่หน้างานมักมีโอกาสคลาดเคลื่อน แม้จะใช้สูตรเดิม วัตถุดิบชนิดเดิม ก็ยังเกิดความต่างในเฉดสีได้จากหลายปัจจัย เช่น อุณหภูมิ ความชื้น หรือแม้แต่ความชำนาญของพนักงาน แต่เมื่อไทยฮงสั่งสีเบอร์ตรงจากผู้ผลิต สีที่ได้จะคงที่ในทุกล็อต มีความแม่นยำระดับ Delta E ต่ำกว่ามาตรฐานอุตสาหกรรม

2. สร้างความเชื่อมั่นให้แบรนด์ลูกค้า

หลายแบรนด์ระดับประเทศไว้วางใจให้ไทยฮงผลิตถุงบรรจุภัณฑ์ ด้วยเหตุผลสำคัญคือ “สีไม่เพี้ยน” ซึ่งมีผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์โดยตรง การที่ไทยฮงเลือกใช้สีสำเร็จจากผู้ผลิตจึงช่วยให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าทุกงานที่ได้รับจะตรงกับแบรนด์ไกด์ไลน์ 100%

3. ลดเวลาและต้นทุนความผิดพลาด

การผสมสีเองต้องมีการทดสอบ เทียบเฉด และบันทึกข้อมูลซ้ำๆ หากเกิดความผิดพลาดอาจต้องหยุดไลน์ผลิตหรือทิ้งงานพิมพ์บางส่วนไป แต่การใช้สีเบอร์ตรงที่ผ่านการควบคุมจากต้นทาง ลดขั้นตอนดังกล่าวทั้งหมด ทำให้กระบวนการผลิตของไทยฮง รวดเร็ว แม่นยำ และต้นทุนคงที่


แนวทางควบคุมคุณภาพสีของไทยฮง

  • ทุกคำสั่งผลิตจะมีการอ้างอิงเบอร์สีเฉพาะ พร้อมใบรับรองจากผู้ผลิต

  • พนักงานในไลน์ผลิตมีการอบรมความเข้าใจเรื่องการพิมพ์และการควบคุมสีอย่างต่อเนื่อง

  • มีการบันทึกค่าความคลาดเคลื่อนในแต่ละล็อต และทำการเทียบกับมาตรฐานก่อนอนุมัติส่งมอบ

วิธีวัดความหนาของถุงพลาสติก

การวัดความหนาของถุงพลาสติกถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญมากในกระบวนการควบคุมคุณภาพ เพราะความหนาของถุงจะมีผลต่อความทนทาน ความยืดหยุ่น และแม้กระทั่งต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ผลิตโดยตรง ในโรงงานทั่วไป เรามักใช้เครื่องมือหลักๆ อยู่ 2 ประเภท แล้วแต่ความละเอียดและมาตรฐานที่ต้องการ

รูปภาพเครื่อง Micrometer แบบ Mechanical หรือ Digital


1. อุปกรณ์ Thickness gauge หรือ Micrometer

เครื่อง Micrometer แบบ Mechanical หรือ Digital

  • ใช้หลักการวัดความหนาระหว่างของทั้ง 2 ด้าน(ความหนาต่อคู่)

  • ความแม่นยำสูง (โดยเฉพาะรุ่นที่ละเอียดถึง 0.001 มม.)

  • เหมาะสำหรับการวัดจุดเฉพาะ แนะนำให้วัดอย่างน้อย 3 จุด แล้วเฉลี่ยออกมา

วิธีวัด:

  1. วางถุงพลาสติกให้เรียบสนิทบนพื้น หรือบนโต๊ะ

  2. ใช้เครื่อง Micrometer กดที่ถุงเบาๆ (ไม่กดจนยุบ)

  3. อ่านค่าจากหน้าปัด (Mechanical) หรือหน้าจอ (Digital)

ข้อดี:

  • มีความแม่นยำ

  • ใช้ได้กับถุงหลายชั้น

เครื่อง Thickness Tester
เครื่อง Thickness Tester

2. เครื่อง Thickness Tester เฉพาะทาง (ASTM D6988, ISO 4593)

หากต้องการความแม่นยำระดับมาตรฐานสากล (เช่น ในห้องแล็บ QC ของโรงงาน):

  • เครื่องวัดจะมีหัวสัมผัสแรงกดตามมาตรฐาน เช่น 2 N หรือ 1 N
  • สามารถตั้งค่าและควบคุมแรงกด ความเร็ว และตำแหน่งการวัดได้
  • นิยมวัด 5 หรือ 10 จุดเฉลี่ยเพื่อลดค่าคลาดเคลื่อน

หน่วยของความหนา

ถุงพลาสติกมักวัดความหนาเป็น ไมครอน (micron) หรือ มิลลิเมตร (mm) หรือในบางประเทศใช้ หน่วยมิล (mil) (1 mil = 25.4 micron)

คำแนะนำเพิ่มเติม

  • ควรวัดหลายจุด (กลางถุง มุม ขอบ) เพื่อให้ได้ค่าเฉลี่ยที่แท้จริง

  • หลีกเลี่ยงการวัดบริเวณมีลอนหรือรอยพับ

  • ใช้แผ่นตัวอย่างจากม้วนพลาสติก (ก่อนตัดเป็นถุง) เพื่อเทียบมาตรฐาน

    📌 เคล็ดลับจากโรงงาน

    • อย่าวัดบนถุงที่ยังมีรอยพับเด็ดขาด! เพราะค่าจะเพี้ยน

    • ถ้าถุงมีรอยปั๊ม/ซีล ควรหลีกเลี่ยงบริเวณนั้น

    • ควรวัดหลายจุด เช่น กลาง มุมซ้าย มุมขวา แล้วเฉลี่ยออกมา

    • หากใช้ฟิล์มม้วน (ก่อนตัดเป็นถุง) แนะนำให้ตัดชิ้นตัวอย่างออกมาวัดดีกว่า

ค่า MD – TD ของถุงพลาสติก คืออะไร

ทฤษฎีแรงต้านทานและการดึงของพลาสติก

ความหมายของค่า MD – TD ในถุงพลาสติก

เรามักจะได้ยินเวลาพูดถึงคุณสมบัติของถุงพลาสติก ทำไมถึงมีคำว่า MD กับ TD อยู่เสมอ เราจะมาคำตอบไปด้วยกัน….
ในอุตสาหกรรมการผลิตถุงพลาสติก พลาสติกที่ได้จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันระหว่าง 2 ทิศทางหลัก คือ MD และ TD

MD ย่อมาจาก Machine Direction คือ ทิศทางตามแนวเครื่องจักร หรือแนวยาวของม้วนพลาสติก

TD ย่อมาจาก Transverse Direction คือ ทิศทางขวาง หรือตั้งฉากกับแนวการผลิต หรือแนวกว้างของพลาสติก

ค่า MD (Machine Direction) และ TD (Transverse Direction) ของถุงพลาสติก เป็นการระบุทิศทางของการวัดคุณสมบัติของพลาสติก โดยเฉพาะในการทดสอบความแข็งแรง การยืดตัว หรือแรงดึง
ตัวอย่างผลทดสอบแรงต้านทานและการฉีกขาดของพลาสติกปูพื้นก่อนเทคอนกรีต

เครื่องทดสอบแรงดึงหรือแรงยืดของพลาสติก

เครื่องในภาพคือ เครื่องทดสอบแรงดึง (Tensile Testing Machine) หรือที่เรียกว่า Motorized Test Stand ซึ่งใช้สำหรับทดสอบแรงทางกล เช่น แรงดึง (Tensile), แรงกด (Compression), แรงเฉือน (Shear) ของวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เส้นด้าย เส้นใย เชือก เทป ฯลฯ

ส่วนประกอบหลักของเครื่อง

  1. หัวจับ (Gripper/Clamp):

    • ใช้ยึดตัวอย่างไว้ทั้งด้านบนและด้านล่าง

    • หัวบนเชื่อมกับโหลดเซลล์ (Load Cell) สำหรับวัดแรง

    • หัวล่างติดอยู่กับแท่นที่เคลื่อนที่ขึ้นลงด้วยมอเตอร์

  2. โหลดเซลล์ (Load Cell) + Digital Display:

    • ส่วนนี้จะแสดงค่าของแรงที่ใช้กับตัวอย่าง (เช่น N หรือ kgf)

    • ใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับแรงแล้วแสดงผลบนหน้าจอ

  3. ปุ่มควบคุมการทำงาน (Control Panel):

    • เช่น ปุ่ม UP / DOWN สำหรับเคลื่อนหัวจับ

    • ปุ่ม STOP เพื่อหยุดการเคลื่อนที่

    • ปุ่มโหมดการทำงาน Manual/Auto

  4. หน้าจอแสดงค่าแรง (Force Display):

    • แสดงแรงสูงสุดหรือปัจจุบันที่เกิดขึ้นกับตัวอย่างในหน่วยต่างๆ

  5. สายทดสอบ/ตัวอย่าง:

    • ตัวอย่างที่ทดสอบในภาพคือเส้นด้ายหรือเส้นใยหลายเส้น ผูกมัดและหนีบไว้ระหว่างหัวจับ

หลักการทำงาน

  1. เตรียมชิ้นงาน:

    • ตัดชิ้นงานให้ได้ขนาดตามมาตรฐาน

    • หนีบไว้ระหว่างหัวจับด้านบนและด้านล่างให้แน่น

  2. ตั้งค่าการทดสอบ:

    • เลือกโหมด Manual หรือ Auto

    • ตั้งค่าความเร็วในการเคลื่อนที่ (บางรุ่นสามารถตั้งความเร็วได้)

  3. เริ่มการทดสอบ:

    • กดปุ่ม “UP” หรือ “DOWN” เพื่อเริ่มการเคลื่อนหัวจับให้ดึงหรือกดตัวอย่าง

    • ตัวอย่างจะถูกดึงจนขาดหรือเสียรูป

  4. อ่านค่าแรง:

    • ค่าแรงที่จำเป็นในการดึงจนขาดจะแสดงบนจอ

    • บันทึกค่าสูงสุดเพื่อวิเคราะห์สมบัติเชิงกล

การใช้งานทั่วไป

  • ทดสอบแรงดึงของเส้นด้าย/เส้นใย/เชือก

  • ตรวจสอบคุณภาพการผลิตสินค้าที่ต้องรับแรง

  • วิจัยสมบัติเชิงกลของวัสดุใหม่

  • ใช้ในงาน QC (ควบคุมคุณภาพ)

ซ่อมบำรุงเกียร์ทดรอบของเครื่องผลิตถุงพลาสติก

เครื่องเป่าถุงพลาสติกในบริเวณด้านท้ายจะมีชุดส่งกำลังที่ประกอบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าและกระปุกเกียร์ทดสอบ(Gear Reducer)

เกียร์ทดรอบ (Gear Reducer) ของเครื่องเป่าถุงพลาสติกคืออะไร?

เครื่องผลิตถุงพลาสติกแบบ Blown film extrusion จะมีชิ้นส่วนหลักในการส่งพลาสติกซึ่งก็คือชุด Extruder ซึ่งประกอบด้วย เกลียวสกรู (Screw) และกระบอก (Barrel) โดยการหมุนเกลียวสกรูด้วยรอบที่คงที่จะทำให้พลาสติกในสถานะหลอมละลายถูกดันไปข้างหน้า ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีชุดส่งกำลังที่ประกอบด้วย

ส่วนประกอบของชุดส่งกำลัง

  1. มอเตอร์ไฟฟ้า 3 เฟส (3 Phase Electric motor)
  2. มอเตอร์ส่งกำลังผ่านสายพาน (Belt)
  3. ชุดเกียร์ทดรอบ (Gear Reducer) แบบ 3 เพลา เพื่อเพิ่มแรงบิด
  4. ลิ่ม (key) เพื่อเชื่อมต่อเพลาของเกลียวสกรูกับเกียร์ทดรอบ

จากส่วนประกอบต่างๆเหล่านี้ทำให้ได้ชุดส่งกำลังที่สมบูรณ์ที่สามารถส่งกำลังให้เครื่องผลิตถุงพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพจากโรงงานผลิตถุงพลาสติกส่งให้กับลูกค้า

ในกระปุกเกียร์ทดรอบของเครื่องผลิตถุงพลาสติกประกอบไปด้วยชุดเฟืองและชุดลูกปืน ชิ้นส่วนอื่นๆอย่างซีลยางและน้ำมันเกียร์

การซ่อมบำรุงเกียร์ทดรอบแบบ 3 เพลา(Gear Reducer)

เกียร์ทดรอบแบบ 3 เพลาหลักการทำงานคือจะทำการทดรอบเพื่อเพิ่มแรงบิด 3 Step โดยใช้เฟืองขนาดเล็กกว่าเพื่อขับเคลื่อนเฟืองที่มีขนาดใหญ่กว่า การทำแบบนี้จะทำให้จำนวนรอบลดลงแต่ได้กำลังแรงบิดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อนำไปต่อกับชุด Extruder ของเครื่องเป่าถุงพลาสติกแล้วจะทำให้เกิดแรงดันย้อนกลับตามกฎของนิวตันข้อที่ 3ที่กล่าวว่า แรงกิริยา = แรงปฏิกิริยา (Action = Reaction) ให้ลูกปืนภายในของชุดกระปุกเกียร์ทดรอบต้องรับภาระทั้งแรงบิดและแรงปฎิกิริยาย้อนกลับ ส่งผลให้ลูกปืนเตเปอร์ (Tapered Roller Bearing) มีการสึกหรอตามอายุการใช้งาน จึงทำให้ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ซีลยางกันซึม รวมไปถึงลูกปืนทั้งชุดตามรอบเป็นประจำ เพื่อให้ระบบส่งกำลังมีความสม่ำเสมอทั้งรอบหมุนและแรงบิด ทำให้ได้งานสั่งผลิตถุงพลาสติกขนาดใหญ่มีคุณภาพ

วิธีการคำนวนจำนวนใบต่อกิโลกรัม

ขออนุญาตแนะนำ 2 วิธี ดังนี้

วิธีที่ 1. ใช้สูตรต่อไปนี้

ในการหาจำนวนใบต่อกิโลกรัม ของถุงพลาสติกขนาดต่างๆได้ครับ แต่ผลลัพธ์จากสูตรอาจจะมีค่าความคลาดเคลื่อนประมาณ ± 10%

1,700 ÷ กว้าง ÷ ยาว ÷ หนา

กว้าง = ความกว้างของถุง มีหน่วยเป็น นิ้ว

ยาว = ความยาวของถุง มีหน่วยเป็น นิ้ว

หนา = ความหนาของถุง มีหน่วยเป็น mm

ตัวอย่างเช่น

ต้องการหาจำนวนใบต่อกิโลกรัม ของถุงขนาด 31 x 52″ x 0.06 mm

1,700 ÷ 31 ÷ 52 ÷ 0.06 = 17.6 ใบต่อ 1 กิโลกรัม

ผลลัพธ์มีความคลาดเคลื่อนประมาณ ± 10%

10% ของ 17.6 ใบ = 1.76 ใบ

ดังนั้นจำนวนใบต่อกิโลกรัม จะเท่ากับ 17.6 ± 1.76 ใบ หรือ 15.8 ถึง 19.4 ใบ

วิธีที่ 2 ชั่งน้ำหนักถุง วิธีการคำนวณจำนวนใบต่อกิโลกรัม (กรณีถุงพลาสติก) โดยทั่วไปแล้วจะทำได้โดยการชั่งน้ำหนักของถุง 1 ใบ แล้วนำ 1,000 กรัม มาหารน้ำหนักกรัมต่อใบ ก็จะได้จำนวนใบต่อ 1 กิโลกรัม โดยใช้เครื่องชั่งดิจิตอล

ตัวอย่างเช่น

ถุงมีน้ำหนัก 200 กรัม  ให้นำ  1,000 กรัมมาหาร จะได้เท่ากับ 1,000 ÷ 200 =  5 ใบ


วิธีใช้เครื่องชั่งดิจิตอล
1.
เตรียมเครื่องชั่ง:

1.1 ตรวจสอบฟองอากาศในลูกน้ำ (ถ้ามี) ให้แน่ใจว่าอยู่ในตำแหน่งตรงกลาง.
1.2 เปิดเครื่องชั่ง.
1.3 ตรวจสอบว่าเครื่องชั่งแสดงค่าเป็นศูนย์ หรือใช้ปุ่ม Tare เพื่อตั้งค่าเป็นศูนย์. 

2. ชั่งน้ำหนัก:
2.1 วางสิ่งของที่ต้องการชั่งบนจานชั่ง โดยให้สิ่งของอยู่ตรงกลางจาน. 
2.2 รอจนกว่าเครื่องชั่งแสดงค่าน้ำหนักที่เสถียร. 

วิธีการคำนวนขนาดของถุงพลาสติกรองในกล่อง

กล่องกระดาษลูกฟูกแบบเปิด วางอยู่บนโต๊ะหินอ่อนสีน้ำตาลแดง พื้นหลังสีขาวเรียบ

กล่องกระดาษเป็นหนึ่งในบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าแม่ค้าขายของออนไลน์ไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้ารายใหญ่ ซึ่งในบางครั้งกล่องกระดาษเพียงอย่างเดียวไม่สามารถตอบโจทย์ได้ เช่น สินค้ามีลักษณะเป็นชิ้นเล็กๆ หรือสินค้าที่ไม่สามารถสัมผัสกับความชื้นในอากาศได้ เป็นต้น ทำให้หลายคนต้องมองหาถุงพลาสติกเพื่อมารองป้องกันด้านในอีกครั้ง แต่เราจะรู้ขนาดถุงพลาสติกที่จะมารองด้านในกล่องกระดาษได้ยังไง? เรามาหาคำตอบไปด้วยกันนะ

วิธีการคำนวณความกว้างของถุงพลาสติก

สามารถคำนวณได้ง่ายๆ โดยการนำความกว้างและความยาวของกล่องกระดาษมาบวกกัน และเผื่อไว้อีก 1-2 นิ้ว เพื่อให้ง่ายต่อการสวมใส่ขณะใช้งาน

วิธีการคำนวณความยาวของถุงพลาสติก

สามารถทำได้โดยการนำความกว้างและความสูงของกล่องกระดาษมาบวกกัน และเผื่อไว้อีก 5-6 นิ้ว สำหรับติดเทปกาวให้มิดชิด

การวัดขนาดหาค่าความกว้าง ความยาว ความสูง ของกล่อง

วิธีคิด

  • วิธีคำนวนความกว้างถุง (24+40+24+40+5)/2 = 66.5 cm
  • วิธีคำนวนความยาวถุงกรณีปิดเทป 24+17+5 = 46 cm
  • วิธีคำนวนความยาวถุงกรณีมัดปาก 40+17+ 15 = 72 cm

กล่องใบนี้จะใช้ถุงรองในกล่องกระดาษ ไซส์ 66.5 x 46 cm กรณีปิดปากถุงด้วยเทป
และไซส์ 66.5 x 72 cm กรณีปิดปากถุงด้วยกันมัดปาก “เพียงเท่านี้! คุณก็สามารถสั่งถุงพลาสติกรองกล่องได้อย่างพอดี”

กล่องกระดาษเปิดสี่ใบ วางอยู่บนโต๊ะหินอ่อนสีน้ำตาลแดง โดยในกล่องบรรจุถุงพลาสติกใส

สำหรับท่านที่มองหาถุงพลาสติกรองในกล่อง สอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ sales@thaihong.co.th

โรงงานผลิตถุงพลาสติกมีการปรับปรุงเครื่องจักรให้ทันสมัยอยู่เสมอ

หัวเป่าและจานลมหล่อเย็นสำหรับเครื่องผลิตถุงพลาสติกชุดใหม่ ได้ทำการติดตั้งและทดสอบโดยการผลิตงานจริงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เปลี่ยนส่วนของหัวเป่า(Die Head) และจานลม(Air Ring) ชุดใหม่

บริษัท ไทยฮง พลาสติก อินดัสทรี จำกัด ได้ปรับแต่งเครื่องจักรให้ทันสมัยด้วยการเปลี่ยนชิ้นส่วนในเครื่องเป่าถุงพลาสติกแบบ Blown film Extrusion ที่เก่าและเริ่มล้าสมัยถึงแม้ว่าจะยังไม่หมดอายุการใช้งาน ซึ่งในครั้งนี้เป็นรอบของการเปลี่ยนชุดหัวเป่าและจานลมของเครื่องเป่าถุงพลาสติกหมายเลข 1 ภายในโรงงานผลิตถุงพลาสติก ซึ่งหน้าที่ของหัวเป่าคือเป็นช่องวงแหวนให้พลาสติกที่อยู่ในสถานะหลอมเหลวผ่านออกมาสู่ภายนอกก่อนที่จะถูกเบ่งขยายให้เป็นขนาดของถุงพลาสติกที่ต้องการ และจานลมที่หน้าที่ในการหล่อเย็นพลาสติกที่ถูกหลอมเหลวให้เย็นตัวลงจนกลับมาอยู่ในสถานะของแข็ง

ความแตกต่างระหว่างหัวเป่าและจานลมรุ่นใหม่

  1. หัวเป่าผลิตด้วยเทคโนโลยีการกลึง CNC ที่มีความแม่นยำสูงกว่าหัวเป่ารุ่นเก่า
  2. ชิ้นส่วนภายในหัวเป่ามีการชุบโครเมี่ยมที่คุณภาพสูง ชุบด้วยเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า
  3. จำนวนช่องปล่อยพลาสติกภายในหัวเป่าเพิ่มจาก 4 ช่องเป็น 6 ช่อง ทำให้งานเป่าถุงพลาสติกมีความสม่ำเสมอกว่าหัวเป่ารุ่นเก่า
  4. จานลมมีการออกแบบภายในรุ่นใหม่ล่าสุดทำให้สามารถควบคุมปริมาณและความเร็วของลมได้ดีกว่าจานลมรุ่นเป่า
  5. จานลมรุ่นใหม่สามารถปรับโหมดการใช้ลมให้เหมาะสมกับงานผลิตถุงพลาสติกชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะรับงานออเดอร์ถุง HDPE หรือ LDPE

จากความแตกต่างระหว่างหัวเป่า (Die Head) และจานลม(Air Ring) ระหว่างเทคโนโลยีเก่าและรุ่นใหม่ ทำให้ทางฝ่ายผลิตของโรงงานไทยฮง พลาสติก สามารถควบคุมการตั้งเครื่องเป่าถุงพลาสติกได้ดีขึ้น ส่งผลให้ได้ถุงพลาสติกที่ผลิตออกมามีคุณภาพ ตรงตามสเปคของคำสั่งซื้อลูกค้าไม่ว่าจะเป็นขนาดและความหนาของฟิล์ม ความสูญเสียระหว่างการผลิตที่ต่ำและประกอบกับกำลังการผลิตที่สูงขึ้น ทำให้ทางบริษัท ไทยฮง พลาสติก อินดัสทรี จำกัด สามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมผลิตและจัดจำหน่ายถุงพลาสติกในประเทศไทยได้ในระยะยาว