พลาสติกปูพื้นก่อนเทคอนกรีต ผลิตจากพลาสติก LDPE อย่างเหนียว สินค้าพลาสติกปูพื้นมีสต็อคทุกความหนา
สนใจสั่งซื้อพลาสติกปูพื้น โทร 099-090-3000, 02-817-5053 (5 คู่สาย) Email: sales@thaihong.co.th
ลูกค้าสามารถเข้ารับพลาสติกปูพื้นได้ที่ แผนที่โรงงานพลาสติกปูพื้น
โรงงานไทยฮงพลาสติกเป็นผู้ผลิตพลาสติกปูพื้นก่อนเทคอนกรีตป้องกันความชื้นสำหรับงานก่อสร้างทั่วไป คุณภาพได้มาตรฐาน ความหนาตรงตามสเปค ราคาถูกกว่า ส่งตรงจากโรงงานผู้ผลิตโดยตรงถึงหน้างานก่อสร้าง สินค้ามีสต็อคจัดส่งภายใน 1-3 วันทำการ และมีบริการจัดส่งด่วนภายใน 5 ชั่วโมง
ลูกค้าที่สนใจแผ่นฉนวนกันความชื้น LDPE สามารถตรวจสอบตารางสเปคได้ที่ ตารางสเปคพลาสติกปูพื้น
โบรชัวร์แสดงข้อมูลทั่วไปของพลาสติกปูพื้น
Link สำหรับลูกค้าที่ต้องการดาวน์โหลดไฟล์ PDF ความละเอียดสูง โบรชัวร์พลาสติกปูพื้น
วิธีการใช้งานและตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการปูพลาสติกปูพื้นก่อนเทคอนกรีต
ตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการติดตั้งผ้ายางกันความชื้น LDPE ควรอยู่บนทรายปรับระดับหรือวัสดุสำหรับปรับระดับอื่นๆ และตะแกรงเหล็กไวร์เมชควรลอยอยู่เหนือพลาสติกปูพื้น
สำหรับขั้นตอนการติดตั้งจะมีดังนี้
- ทางหน้างานจะต้องปรับระดับดินด้วยการบดอัดหรือรองด้วยทราย เพื่อให้ได้ระดับและมีความเรียบที่เหมาะสม
- ทำการปูแผ่นพลาสติก โดยควรซ้อนกันอย่างน้อย 10 cm บริเวณทุกรอยต่อ เพื่อให้การป้องกันความชื้นมีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่มีการเล็ดรอดบริเวณรอยต่อ
- ทางหน้างานสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการกันความชื้นได้โดยการทากาวกันซึมที่บริเวณรอยต่อที่ซ้อนกัน 10 cm
- ทำการปูด้วยตะแกรงเหล็กไวร์เมช และทำการวางแท่งปูนหรือพลาสติก เพื่อดันตะแกรงเหล็กให้ลอยขึ้นมาในระดับที่เหมาะสม
- ในขั้นตอนสุดท้ายทำการเทคอนกรีตลงที่หน้างาน
ประโยชน์ของการใช้ติดตั้งพลาสติกกันซึมก่อนเทคอนกรีต
- ในระยะที่เพิ่งทำการเทคอนกรีตพลาสติกปูพื้นจะช่วยรักษาส่วนผสมของคอนกรีต ให้อยู่ในสัดส่วนเดิมระหว่างการเซ็ตตัว
- ในระยะยาวจะช่วยป้องกันความชื้นจากด้านล่างขึ้นมาทำให้ตะแกรงเหล็กไวร์เมชเกิดสนิม
- ยืดอายุการใช้งานของพื้นคอนกรีต เนื่องจากลดการสึกกร่อนต่างๆ ที่เกิดจากความชื้น ความเค็ม ความเป็นกรดและความเป็นด่าง ที่มาจากพื้นดินด้านล่าง
- เนื้อพลาสติก LDPE มีอัตราการดูดซึมน้ำที่ต่ำมาก(อัตราการดูดซึมน้ำประมาณ 0.3%)
ความหนาที่เหมาะสมสำหรับพลาสติกปูพื้นป้องกันการซึมก่อนเทคอนกรีตเนื้อ LDPE
การคลุมพื้นเพื่อเตรียมการเทคอนกรีตด้วยพลาสติกปูพื้นเนื้อ LDPE จำเป็นต้องมีการเดินเหยียบบนผ้ายางปูพื้นกันซึมค่อนข้างเยอะและหลายรอบ ดังนั้นความหนาของแผ่นพลาสติกปูพื้นที่แนะนำคือไม่ต่ำกว่า 70 ไมครอน หรือ 0.07 mm เพื่อเป็นการลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นเช่น พลาสติกปูพื้นเกิดการฉีกขาด เป็นต้น
พลาสติกปูพื้นก่อนเทคอนกรีตเนื้อ LDPE สามารถตัดแต่งให้พอดีกับหน้างานได้อย่างสะดวก
เนื่องจากพลาสติกประเภทฟิล์ม LDPE มีความอ่อนตัวและนิ่มจึงทำให้แผ่นพลาสติกปูพื้นก่อนเทคอนกรีตสามารถถูกตัดแบ่งหรือตัดเพื่อให้เข้ารูปด้วยของมีคมทุกชนิด ในหน้างานก่อสร้างทุกหน้างาน จะมีพื้นที่บางจุดที่ไม่มีใช้พลาสติกปูพื้นก่อนเทคอนกรีต จึงทำให้ต้องมีการตัดแผ่นพลาสติก LDPE ออกไปบางส่วน
กระบวนการผลิตและควบคุมคุณภาพของพลาสติกปูพื้น
รูปเครื่องนับความยาวม้วนของม้วนพลาสติก ในการผลิตม้วนพลาสติกปูพื้นก่อนเทปูนเพื่อขายแบบเหมาม้วน
รูปการวัดความหนาของแผ่นฟิล์มพลาสติกปูพื้นก่อนเทปูน เพื่อตรวจสอบคุณภาพของสินค้า
ทางโรงงานผลิตพลาสติกปูพื้น ไทยฮง มีขั้นตอนการควบคุมคุณภาพให้ได้ความหนาของแผ่นปูกันซึมสำหรับงานก่อสร้างโดยการวัดด้วยไมโครมิเตอร์ขณะที่กำลังตั้งเครื่อง จนได้ความหนาตามมาตรฐานจึงจะเริ่มเข้าม้วนสำหรับส่งลูกค้า โดยจะทำการวัดตลอดทั้งแนว เช่นขนาดหน้ากว้าง 2 เมตร พนักงานตรวจสอบคุณภาพจะทำการวัดแบบรูดตามแนวขวางของแผ่นพลาสติกปูพื้นก่อนเทคอนกรีตไล่ตลอดทั้งแนวจนครบ 2 เมตร เพื่อวัดความหนา
การตรวจสอบมาตรฐานของพลาสติกปูพื้นโดยการชั่งน้ำหนัก
หน้างานก่อสร้างส่วนใหญ่จะมีข้อจำกัดในการตรวจสอบความหนาของแผ่นพลาสติกปูพื้นก่อนเทคอนกรีต LDPE เนื่องจากไม่มีอุปกรณ์วัดความหนาแบบไมโครมิเตอร์ แต่หน้างานสามารถตรวจสอบคุณภาพได้โดยการชั่งน้ำหนักม้วนพลาสติกปูพื้น ไม่ว่าจะเป็นสินค้าของโรงงานไทยฮงหรือผู้ผลิตรายอื่นๆ ว่าได้มาตรฐานตามที่สั่งซื้อหรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบได้ตามตารางสเปคพลาสติกปูพื้น
ตัวอย่างหน้างานที่ใช้พลาสติกปูพื้นก่อนเทคอนกรีตจากโรงงานผู้ผลิตแผ่น LDPE ไทยฮง
ในรูปภาพเป็นตัวอย่างหน้างานของลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรม WHA ที่จังหวัดระยอง
หน้างานที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC) ที่เป็นการลงทุนโดยต่างประเทศเช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และประเทศฝั่งตะวันตกอื่นๆ เป็นต้น หน้างานเหล่านี้จะนิยมใช้ พลาสติกปูพื้นสำหรับปูรองพื้นก่อนเทคอนกรีตอย่างหนาพิเศษ โดยจากใช้ผ้ายางปูพื้นหน้างานที่ความหนา 200-300 ไมครอน ต่อด้าน ซึ่งม้วนจะค่อนข้างมีน้ำหนัก (น้ำหนักอยู่ที่ 35-54 กิโลกรัมต่อม้วน) หรือน้ำหนักเฉลี่ยต่อพื้นที่ของฟิล์มพลาสติก LDPE อยู่ที่ 175-270 แกรม(กรัมต่อตารางเมตร)