ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต

โรงงานไทยฮง พลาสติก รับผลิต ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต เนื้อ LDPE และ HDPE ไม่ให้เลือกทั้งแบบ ถุง ESD ทั่วไป และถุงกันไฟฟ้าสถิตถาวร (Anti Static Permanent)

ทางโรงงานผลิต ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต โดยใช้สารกันไฟฟ้าสถิตที่คัดสรรจากผู้ผลิตรายใหญ่ ที่มีความน่าเชื่อถือในวงการ ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต ของโรงงานไทยฮง มีการตรวจสอบคุณภาพค่ากันไฟฟ้าสถิตอย่างสม่ำเสมอ

สำหรับกลุ่มลูกค้าที่ต้องใช้ ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต ได้แก่

  1. กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  2. กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตสารเคมีไวไฟ
  3. ลูกค้าที่ต้องการความสะอาดจากฝุ่นหรือสิงแปลกปลอมอื่นๆ
  4. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับยาง ที่ไม่ต้องการให้พลาสติกเกาะติดกับแผ่นยาง

ลูกค้าสามารถดูข้อมูล ถุงกันไฟฟ้าสถิต ได้ที่นี่ https://thaihong.co.th/ผลการทดสอบ/

รายละเอียดต่างๆและลักษณะการใช้งานของถุงพลาสติกดังต่อไปนี้

รูปถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิตสีบานเย็นเนื้อ LDPE

ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต ชนิด LDPE ใส่แม่สีแดงบานเย็นอ่อนๆ เพื่อให้ง่ายต่อการแยกประเภทจากถุงพลาสติกทั่วไป

ลูกค้าสั่งผลิต ถุงกันไฟฟ้าสถิต หรือ ถุงพลาสติก ESD เนื้อ LDPE ใส่สาร Anti-Static 2% และแม่สีแดงบานเย็น(Food Contact Grade) 0.3% เพื่อให้เกิดสีแดง และต้องเป็นสีเกรด Food contact หรือเกรดที่สัมผัสกับอาหารได้ แสดงถึงความแตกต่างระหว่างถุงพลาสติกทั่วๆไปกับถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต สะดวกต่อการใช้งานและการแยกประเภท เนื่องจาก Master Batch หรือหัวเชื้อ สารกันไฟฟ้าสถิตจะไม่มีสีและกลิ่น อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดในการใช้งานจนก่อให้เกิดความเสียหายจากไฟฟ้าสถิต (ESD : Electrostatic Discharge) ในกรณีที่มีการใช้ถุงพลาสติกชนิดอื่นร่วมด้วยในกระบวนการผลิต

โดยถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิตจะมีผิวที่มันเยิ้มจากสารกันไฟฟ้าสถิต และอาจจะเกิด wet block ได้ หลังจากผลิตออกมาเป็นเวลานาน นอกจากนี้ค่ากันไฟฟ้าสถิตอาจจะเสื่อมตามอายุการเก็บได้ โดยจะมีอายุการเก็บประมาณไม่เกิน 1 ปี และสารกันไฟฟ้าสถิตจะเสื่อมลงเรื่อยๆหลังจากเปิดใช้งานซึ่งระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ลักษณะงานที่จำเป็นต้องใช้ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิตได้แก่

  • โรงงานอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิค
  • อุตสาหกรรมสารเคมีที่มีความไวไฟ
  • ถุงกันไฟฟ้าสถิต บรรจุสินค้าที่ต้องการความสะอาดสูง เนื่องจากคุณสมบัติที่ไม่ดึงดูดฝุ่นให้มาเกาะติด
  • การบรรจุสินค้าที่ไม่ต้องการให้เกิดแรงทางไฟฟ้า เช่นผงสารเคมีที่จะทำได้ติดถุงพลาสติกเนื่องจากแรงดูดจากไฟฟ้าสถิต

ในรูปเป็นตัวอย่างการวัดค่าความต้านทานพื้นผิวของถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต โดยตัวไฟสีเหลืองแสดงค่าความต้านทานที่ 10 ยกกำลัง 10เครื่องวัดค่าความต้านทานพื้นผิวแบบพกพา สำหรับวัดค่า ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต ที่หน้างานตามสภาพแวดล้อมในการใช้งานจริงหรือสะดวกในการวัดค่าระหว่างการผลิต

เครื่องวัดค่าความต้านทานพื้นผิวสำหรับทดสอบ ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต

หลักการทำงานของ ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต คือการทำให้ถุงพลาสติกธรรมดาสามารถนำไฟฟ้าได้ในลักษณะของการเป็นพื้นผิวแบบกึ่งตัวนำ ซึ่งตามธรรมชาติไฟฟ้าสถิตเกิดจากการเสียดสีกันบนพื้นผิวของวัตถุที่เป็นฉนวนจนเสียสมดุลทางประจุไฟฟ้าจนมีความต่างศักดิ์มากกว่า 30KV (หรือที่ความต่างศักดิ์มากกว่า 30000 Volt) จึงจะเกิดประกายไฟจากการสปาร์ค แต่ไฟฟ้าสถิตจะสลายตัวได้เมื่อพื้นผิวสามารถนำไฟฟ้าได้

ซึ่งถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต จะมีความต้านทานพื้นผิวอยู่ที่ระหว่าง 10 ยกกำลัง 9 ถึง 10 ยกกำลัง 11 โอห์ม(ohm per square) ให้ลักษณะของการเป็นกึ่งตัวนำจากการเคลือบผิวพลาสติกด้วยไขมันกรีเซอรอล ซึ่งหลักการของ ถุงป้องกันไฟฟ้าสถิตลักษณะนี้ จะเป็นการป้องกันไฟฟ้าสถิตชั่วคราว มีอายุการใช้งานหลังจากเริ่มบรรจุสินค้าประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี และสามารถหลุดลอกออกได้โดยการเสียดสีหรือสัมผัสกับตัวทำละลายต่างๆ

ข้อดีของการใช้เครื่องวัดค่าความต้านทานพื้นผิวแบบพกพาได้แก่

  1. เครื่องวัดค่าความต้านทานมีขนาดเล็ก
  2. สามารถนำเข้าไปใช้งานในพื้นที่หน้างานจริง

ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต สำหรับบรรจุชิ้นงานที่ต้องการความสะอาด

ผลกระทบที่จากการใช้สารกันไฟฟ้าสถิตมากเกินความจำเป็นหรือ Overdose

โดยปรกติของการผลิต ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต ปริมาณสารกันไฟฟ้าสถิตที่ทางผู้ผลิตแนะนำให้ใส่คือ 2-4% ถ้าหากสารกันฟ้าสถิต Overdose จะทำให้ปริมาณไขมันกรีเซอรอลที่ ไมเกรทออกมาเคลือบผิวพลาสติกมีปริมาณมากเกินไป จนมีความหนามากพอที่จะจับตัวเป็นก้อนจากการโดนเสียดสี หรือขูดกับสินค้าภายในถุงพลาสติก ซึ่งจะมีลักษณะเป็นก้อนหรือผงสีขาวๆของไขมันกรีเซอรอลที่จับตัวเป็นก้อน ออกมาปนเปื้อนกับชิ้นงานของลูกค้า

สายเหตุของการ Overdose มักมาจากการนอนก้นของสารกันไฟฟ้าสถิตในเครื่องผสมและในถังเม็ดพลาสติกขณะกำลังผลิต เนื่องจากเม็ดพลาสติกทั่วไปมีความหนาแน่นน้อยกว่าและมีผลึกที่ใหญ่กว่า Master Batch ซึ่งสามารถแก้ปัญหาเม็ดสารกันไฟฟ้าสถิตนอนก้นได้โดยการลดขนาดการผสมต่อครั้ง 

เครื่องวัดค่าความต้านทานพื้นผิวแบบดิจิตอลแบบ 2 หัววัด สำหรับตรวจสอบคุณภาพของถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต

เครื่องวัดค่ากันไฟฟ้าสถิตอย่างละเอียด สามารถวัดค่าความชื้น อุณหภูมิ และค่ากันไฟฟ้าสถิตในเครื่องเดียว

การวัดค่ากันไฟฟ้าสถิตต้องอาศัยปัจจัยสภาพแวดล้อมต่างๆได้แก่ อุณหภูมิและความชื้นของห้องที่ทำการทดสอบ ถ้าหากความชื้นของห้องสูงจะทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตได้ยากกว่าเนื่องจากความชื่นในอากาศสามารถนำไฟฟ้าได้บางส่วนทำให้ ไม่มีประจุไฟฟ้าสะสมบนพื้นผิวของถุงพลาสติก

โดยเครื่องวัดค่ากันไฟฟ้าสถิตของ Desco จะเป็นการวัดค่า Surface Resistance หรือค่าความต้านทานบนพื้นผิวด้วยความแม่นยำสูง(ความคลาดเคลื่อนเพียงแค่ 10%) วิธีการใช้งานคือให้วางแท่นกดสีเหลืองที่มีน้ำหนัก 0.5 กิโลกรัม บนผิวพลาสติกห่างกัน 1 ฟุต และกดปุ่มสีแดงค้างไว้ เพื่อให้เครื่องทำการไล่วัดค่าต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการเกิดประจุไฟฟ้าบนพื้นผิว ได้แก่

  • ค่าอุณหภูมิ(องศาฟาเรนไฮต์)
  • ค่าอุณหภูมิ(องศาเซลเซียส)
  • ค่าความชื้นสัมพัทธ์ (RH : relative humidity)
  • ค่าความต้านทานพื้นผิว (วัดด้วยความต่างศักดิ์ 10V)
  • ค่าความต้านทานพื้นผิว (วัดด้วยความต่างศักดิ์ 100V)

ซึ่งการวัดค่ากันไฟฟ้าสถิตด้วยความต่างศักดิ์ไฟฟ้าที่สูงกว่า (100 Volt) จะให้ค่าความต้านทานพื้นผิวหรือค่ากันไฟฟ้าสถิตที่แม่นยำกว่า การวัดด้วยความต่างศักดิ์ที่ต่ำกว่า(5-10 V สำหรับเครื่องวัดค่าความต้านทานพื้นผิวทั่วไป) ซึ่งมีเฉพาะในเครื่องวัดค่ากันไฟฟ้าสถิตแบบทุ่นกดเท่านั้น

เครื่องวัดความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิห้องสำหรับควบคุมคุณภาพของ ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิตย์

เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของห้องระบบปิด

ในการผลิต ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต สำหรับขั้นตอนการวัดค่ากันไฟฟ้าสถิต จะต้องมีการควบคุมความชื้นในห้องที่ทำการทดสอบ ซึ่งค่าความชื้นที่แตกต่างกัน จะทำให้เครื่องวัดค่าความต้านทานพื้นผิวอ่านค่าได้ต่างกัน โดยห้องที่มีอากาศที่แห้งกว่าจะสามารถเกิดไฟฟ้าสถิตได้ง่ายกว่าห้องที่มีสภาพความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า ซึ่งโรงงานผลิต ถุงพลาสติกป้องกันไฟฟ้าสถิตไทยฮง มีการควบคุมความชื้นของห้องที่ทำการวัดค่าให้ไม่เกิน RH 50% ในขณะที่ทำการทดสอบ ไม่เช่นนั้นอาจจะไม่สามารถวัดค่าที่ถูกต้องได้ตามมาตรฐานการทดสอบความต้านทานพื้นผิว ASTM D257 เนื่องจากความชื้นในอากาศจะทำให้ความต้านทานพื้นผิวลดลงและยากต่อการเกิดไฟฟ้าสถิต ซึ่งไฟฟ้าสถิตจะส่งผลกระทบมากในประเทศที่เป็นเมืองหนาวอย่างเช่นประเทศโซนยุโรป

โดยมาตรฐานค่าความต้านทานพื้นผิว เทียบกับการควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ ดังนี้

  1. ค่าความต้านทานพื้นผิว 10 ยกกำลัง 4-9 ที่ความชื้น 50% อุณหภูมิไม่เกิน 23 องศาเซลเซียส
  2. Surface Resistance มีค่าระหว่าง 10 ยกกำลัง 8-11 ที่ความชื้น 30%

การดูแลรักษาความสะอาดของเครื่องจักรระหว่างการผลิต ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต

ผู้ใช้งาน ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิตย์หลายรายน่าจะเคยประสบปัญหามีเศษผงสีขาวๆติดอยู่บนเนื้อฟิล์มพลาสติก ซึ่งเศษผงสีขาวเหล่านั้นคือสารกันไฟฟ้าสถิตย์ประเภทไขมันกรีเซอไรด์ที่ซึมออกมาแบบไมเกรชั่น(Migration) จับตัวกัน สะสมจนเป็นก้อนเนื่องจากการเสียดสีกับเครื่องจักรระหว่างการผลิต ถ้าหากปล่อยให้สารกันไฟฟ้าสถิตย์สะสมตามลูกกลิ้งหรือข้อต่อต่างๆไปเรื่อยๆก็จะถึงจุดอิ่มตัวที่จะหลุดออกมาติดบนถุงพลาสติก ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดบริเวณด้านนอกของถุงพลาสติก แต่ทางโรงงานผลิตถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต ไทยฮง ให้ความสำคัญกับความสะอาดทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งจะมีรายการจุดที่เกิดการเสียดสีกับพลาสติกที่ต้องทำความสะอาดเป็นประจำดังนี้

  1. ลูกกลิ้งยางด้านท้ายดึงพลาสติกเข้าเครื่อง
  2. ลูกยางกดปั๊มทองเหลือง
  3. ลูกกลิ้งยางด้านหน้าเครื่องตัดที่ประคองพลาสติกเข้าใบมีด
  4. ลูกฟรีบริเวณระหว่างลูกกลิ้งยางด้านท้ายและปั๊มทองเหลือง
  5. ใบมีดของเครื่องตัดถุงพลาสติก(ต้องเช็ดด้วยน้ำมันที่ไม่มีส่วนประกอบของสารอินทรีย์ เช่นน้ำมันจักรเท่านั้น)

การทดสอบการรั่วซึมบริเวณก้นถุง โดยการบรรจุน้ำปริมาณ 50 ลิตร

ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิตถาวร (Anti static Permanent) ในรูปเป็นขั้นตอนการทดสอบการรั่วซึม

ลักษณะความแตกต่างระหว่างถุงกันไฟฟ้าสถิตแบบทั่วไปและถุงกันไฟฟ้าสถิตแบบถาวรคือ ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิตธรรมดาจะทำงานโดยการ Migration ให้ Anti static Agent ซึมออกมาเคลือบผิวพลาสติก แต่ถุงกันไฟฟ้าสถิตถาวรจะเป็นการทำให้พื้นผิวของพลาสติกสามารถนำไฟฟ้าได้ด้วยตัวเอง ซึ่งลักษณะการทำงานของสารกันไฟฟ้าสถิตนี้ ทำให้ ถุงกันไฟฟ้าสถิต แบบถาวร สามารถทนต่อการบรรจุสารเคมีต่างๆ เช่น Solvent หรือตัวทำละลายในอุตสาหกรรมสีน้ำมัน หรือตัวทำละลายอื่นๆที่มีความเป็นฉนวนไฟฟ้า และมีความไวไฟสูง ซึ่งเมื่อเกิดการสะสมของประจุไฟฟ้าจากการเสียดสี (ถึงระดับ 20000-30000 Volt)  จะทำให้เกิดอันตรายได้ต่อวัสดุดังต่อไปนี้

  1. สารระเหยของตัวทำละลายไวไฟ (Solvent)
  2. เศษผงโลหะที่เกิดจากสะเก็ดความร้อนจากการตัดหรือเชื่อม ที่สามารถลุกไหม้ได้หากเกิดประกายไฟจากปฏิกิริยา oxidation
  3. สำหรับบรรจุอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  4. ถุงบรรจุสินค้าประเภทผงต่างๆ เพื่อป้องกันการเกาะบนเนื้อถุงพลาสติกจากการดูดของไฟฟ้าสถิต

เนื่องจากงานถุงกันไฟฟ้าสถิตถาวร ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ต้องสัมผัสกับสารเคมีหรือ Solvent ที่เป็นตัวทำละลายต่างๆ ที่เป็นวัตถุไวไฟหรือเกิดการระเบิดง่าย

ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสถานะของพื้นผิวกับค่าความต้านทานบนพื้นผิว

ในตารางนี้จะแยกสถานะของพื้นผิววัสดุออกเป็น 3 แบบ ได้แก่

  1. Insulative(ฉนวนไฟฟ้า) – ค่าความต้านทานพื้นผิวจะอยู่ที่ 10 ยกกำลัง 11-12 Ohm/Square
  2. Static Dissipative(ประจุไฟฟ้าสามารถกระจายตัวได้) – ความต้านทานพื้นผิว 10 ยกกำลัง 4-11 Ohm/Square
  3. Conductive(ตัวนำไฟฟ้า) – Surface resistance ต่ำกว่า 10 ยกกำลัง 4 โอห์มต่อตารางเมตร

ซึ่งความแตกต่างระหว่างถุงกันไฟฟ้าสถิตธรรมดาและถุงกันไฟฟ้าสถิตถาวร (ถุง Anti Static Permanent) คือค่าความต้านทานพื้นผิวของถุงกันไฟฟ้าสถิตธรรมดาจะอยู่ที่ 10 ยกกำลัง 11 ถึง 12 จากการที่ไขมันเคลือบบนผิวพลาสติกทำหน้าที่เป็นสารเคมีแบบมีขั้วดึงให้โมเลกุลน้ำในอากาศมาเกาะจนเป็นโครงข่ายที่เป็นกึ่งตัวนำ ซึ่งจะสลายไปได้โดยการเสียดสีหรือการเสื่อมสภาพตามอายุ และสัมผัสกับตัวทำละลายอื่นๆ ในขณะที่ถุงกันไฟฟ้าสถิตถาวรจะเป็นสารเคมีที่สร้างพันธะให้อิเล็กตรอนสามารถเคลื่อนที่ได้ทำให้ผิวของฟิล์มพลาสติกสามารถนำไฟฟ้าได้ด้วยตัวเอง

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.rdworldonline.com/cleanroom-static-control-glove-safeguards-and-qualification-protocols-for-risk-mitigation/

การวัดค่าความต้านทานพื้นผิวด้วยเครื่องวัดยี่ห้อ Desco ที่สามารถวัดด้วยความต่างศักดิ์ 100 Volt

ในคลิปวีดีโอยูทูปเป็นการวัดค่าความต้านทานพื้นผิวด้วยเครื่องวัดความละเอียดสูง นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา บนถุงกันไฟฟ้าสถิตแบบถาวร ชนิด HDPE โดยลูกค้ากำหนดเงื่อนไขในการทดสอบอยู่ที่ อุณหภูมิไม่เกิน 23 องศาเซลเซียส และที่ความชื้นไม่เกิน 50% RH และต้องการค่าความต้านทานพื้นผิวไม่เกิน 10 ยกกำลัง 9 ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องวัดค่าความต้านทานพื้นผิวลักษณะนี้เท่านั้นจึงจะสามารถตอบโจทย์การวัดค่าที่ลูกค้าต้องการได้ถุงพลาสติกประเภท Dissipative โดยค่าที่วัดได้ในคลิปนี้โดยสรุปๆได้แก่

  1. อุณหภูมิ 76.1 องศาฟาเรนไฮต์
  2. วัดค่าต่อไปได้อุณหภูมิ 24.3 องศาเซลเซียส
  3. ค่าความต้านทานพื้นผิว 1.15 X 10 ยกกำลัง 9 โอห์ม (Ohm)
  4. วัดค่าที่ความต่างศักดิ์ 100 Volt
  5. ค่าความต้านทานพื้นผิวอยู่ในย่านที่ประจุไฟฟ้าสามารถสลายตัวเองได้

ซึ่งค่าความต้านทานพื้นผิวของ ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต ยิ่งต่ำยิ่งดี เพราะว่าประจุไฟฟ้าสามารถสลายตัวได้เร็ว เนื่องจากตัวพื้นผิวของ ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิตถาวร(Anti Static Permanent) มีความเป็นกึ่งตัวนำสูง สามารถนำไฟฟ้าได้ด้วยตัวเองไม่ว่าจะใช้งานในรูปแบบใดๆ เช่นการใช้งานที่ต้องสัมผัสกับตัวทำละลาย หรือการใช้งานที่มีการเสียดสีกับวัตถุไวไฟที่เป็นของแข็ง

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องมือวัดค่าความต้านทานพื้นผิวรุ่นนี้เพิ่มเติมสามารถสแกน QR Code ที่หลังเครื่องจะขึ้น Link http://documents.desco.com/PDF/TB-3062.pdf

ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิตย์แบบถาวร หรือถุง Anti-permanent ขนาดเล็ก

เนื่องจาก ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิตแบบถาวร จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรเฉพาะในการผลิตทำให้มีหน้ากว้างขั้นต่ำที่อย่างน้อย 30 นิ้ว หรือ 76.2 cm ดังนั้นถ้าหากลูกค้าต้องการสั่งผลิตถุงที่มีขนาดเล็กกว่านั้น ทางโรงงานผลิตถุงพลาสติกไทยฮง จำเป็นต้องปรับลักษณะถุงให้เป็นดังนี้

  1. บริเวณด้านข้างของถุงพลาสติกจะเป็นรอยซีลทั้ง 2 ข้าง และมีชายยื่นออกมาเล็กน้อย
  2. ก้นถุงเป็นด้านที่เกิดจากการพับของแผ่นฟิล์มพลาสติก (ซึ่งปรกติก้นถุงจะเป็นรอยซีล)
  3. ปากถุงเกิดจากการ Slit สันของพลาสติก เพื่อให้เปิดช่องสำหรับบรรจุสินค้าได้

ในการทดสอบการใช้งาน โดยการทดลองบรรจุน้ำ จำนวนปริมาตร 20 ลิตร (ซึ่งเทียบเท่ากับน้ำหนัก 20 กิโลกรัม) ซึ่งลูกค้าใช้บรรจุเป็นถุงรองในถังสี 20 กิโลกรัม (Pail can 20 kgs)

ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต บรรจุลงกล่องกระดาษสำหรับส่งออก

ในรูปเป็นการบรรจุน้ำหนักกล่องละ 25 กิโลกรัม เรียงบนพาเลท พาเลทละ 24 กล่อง