โรงงานไทยฮง พลาสติก รับผลิต ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต เนื้อ LDPE และ HDPE ไม่ให้เลือกทั้งแบบ ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต ทั่วไป และถาวร
ทางโรงงานผลิต ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต โดยใช้สารกันไฟฟ้าสถิตที่คัดสรรจากผู้ผลิตรายใหญ่ ที่มีความน่าเชื่อถือในวงการ ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต ของโรงงานไทยฮง มีการตรวจสอบคุณภาพค่ากันไฟฟ้าสถิตอย่างสม่ำเสมอ
สำหรับกลุ่มลูกค้าที่ต้องใช้ ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต ได้แก่
- กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
- กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตสารเคมีไวไฟ
- ลูกค้าที่ต้องการความสะอาดจากฝุ่นหรือสิงแปลกปลอมอื่นๆ
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับยาง ที่ไม่ต้องการให้พลาสติกเกาะติดกับแผ่นยาง
ลูกค้าสามารถดูข้อมูล ถุงกันไฟฟ้าสถิต ได้ที่นี่ https://thaihong.co.th/ผลการทดสอบ/
รายละเอียดต่างๆและลักษณะการใช้งานของถุงพลาสติกดังต่อไปนี้
Contents
- 1 ทางโรงงานผลิต ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต โดยใช้สารกันไฟฟ้าสถิตที่คัดสรรจากผู้ผลิตรายใหญ่ ที่มีความน่าเชื่อถือในวงการ ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต ของโรงงานไทยฮง มีการตรวจสอบคุณภาพค่ากันไฟฟ้าสถิตอย่างสม่ำเสมอ
- 2 ลูกค้าสามารถดูข้อมูล ถุงกันไฟฟ้าสถิต ได้ที่นี่ https://thaihong.co.th/ผลการทดสอบ/
- 3 รายละเอียดต่างๆและลักษณะการใช้งานของถุงพลาสติกดังต่อไปนี้
- 3.1 รูป ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต สีบานเย็นเนื้อ LDPE
- 3.2 เครื่องวัดค่าความต้านทานพื้นผิวสำหรับทดสอบ ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต
- 3.3 ผลกระทบที่จากการใช้สารกันไฟฟ้าสถิตมากเกินความจำเป็นหรือ Overdose
- 3.4 เครื่องวัดค่ากันไฟฟ้าสถิตอย่างละเอียด สามารถวัดค่าความชื้น อุณหภูมิ และค่ากันไฟฟ้าสถิตในเครื่องเดียว
- 3.5 เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของห้องระบบปิด
- 3.6 การดูแลรักษาความสะอาดของเครื่องจักร
- 3.7 ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิตถาวร (Anti static Permanent)
รูป ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต สีบานเย็นเนื้อ LDPE
ลูกค้าสั่งผลิต ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต เนื้อ LDPE ใส่สาร Anti-Static 2% และแม่สีแดงบานเย็น 0.3% เพื่อให้เกิดสีแดง แสดงถึงความแตกต่างระหว่างถุงพลาสติกทั่วๆไปกับถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต สะดวกต่อการใช้งานและการแยกประเภท เนื่องจาก Master Batch หรือหัวเชื้อ สารกันไฟฟ้าสถิตจะไม่มีสีและกลิ่น อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดในการใช้งาน ในกรณีที่มีการใช้ถุงพลาสติกชนิดอื่นร่วมด้วยในกระบวนการผลิต
โดยถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิตจะมีผิวที่มันเยิ้มจากสารกันไฟฟ้าสถิต และอาจจะเกิด wet block ได้ หลังจากผลิตออกมาเป็นเวลานาน นอกจากนี้ค่ากันไฟฟ้าสถิตอาจจะเสื่อมตามอายุการเก็บได้ โดยจะมีอายุการเก็บประมาณไม่เกิน 1 ปี และสารกันไฟฟ้าสถิตจะเสื่อมลงเรื่อยๆหลังจากเปิดใช้งานซึ่งระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ลักษณะงานที่จำเป็นต้องใช้ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิตได้แก่
- โรงงานอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิค
- อุตสาหกรรมสารเคมีที่มีความไวไฟ
- ถุงกันไฟฟ้าสถิต บรรจุสินค้าที่ต้องการความสะอาดสูง เนื่องจากคุณสมบัติที่ไม่ดึงดูดฝุ่นให้มาเกาะติด
- การบรรจุสินค้าที่ไม่ต้องการให้เกิดแรงทางไฟฟ้า เช่นผงสารเคมีที่จะทำได้ติดถุงพลาสติกเนื่องจากแรงดูดจากไฟฟ้าสถิต
เครื่องวัดค่าความต้านทานพื้นผิวสำหรับทดสอบ ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต
หลักการทำงานของ ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต คือการทำให้ถุงพลาสติกธรรมดาสามารถนำไฟฟ้าได้ในลักษณะของการเป็นพื้นผิวแบบกึ่งตัวนำ ซึ่งตามธรรมชาติไฟฟ้าสถิตเกิดจากการเสียดสีกันบนพื้นผิวของวัตถุที่เป็นฉนวนจนเสียสมดุลทางประจุไฟฟ้าจนมีความต่างศักดิ์มากกว่า 30KV (หรือที่ความต่างศักดิ์มากกว่า 30000 Volt) จึงจะเกิดประกายไฟจากการสปาร์ค แต่ไฟฟ้าสถิตจะสลายตัวได้เมื่อพื้นผิวสามารถนำไฟฟ้าได้
ซึ่งถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต จะมีความต้านทานพื้นผิวอยู่ที่ระหว่าง 10 ยกกำลัง 9 ถึง 10 ยกกำลัง 11 โอห์ม(ohm per square) ให้ลักษณะของการเป็นกึ่งตัวนำจากการเคลือบผิวพลาสติกด้วยไขมันกรีเซอรอล ซึ่งหลักการของ ถุงป้องกันไฟฟ้าสถิตลักษณะนี้ จะเป็นการป้องกันไฟฟ้าสถิตชั่วคราว มีอายุการใช้งานหลังจากเริ่มบรรจุสินค้าประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี และสามารถหลุดลอกออกได้โดยการเสียดสีหรือสารทำละลายไขมัน
ผลกระทบที่จากการใช้สารกันไฟฟ้าสถิตมากเกินความจำเป็นหรือ Overdose
โดยปรกติของการผลิต ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต ปริมาณสารกันไฟฟ้าสถิตที่ทางผู้ผลิตแนะนำให้ใส่คือ 2-4% ถ้าหากสารกันฟ้าสถิต Overdose จะทำให้ปริมาณไขมันกรีเซอรอลที่ ไมเกรทออกมาเคลือบผิวพลาสติกมีปริมาณมากเกินไป จนมีความหนามากพอที่จะจับตัวเป็นก้อนจากการโดนเสียดสี หรือขูดกับสินค้าภายในถุงพลาสติก ซึ่งจะมีลักษณะเป็นก้อนหรือผงสีขาวๆของไขมันกรีเซอรอล ออกมาปนเปื้อนกับชิ้นงานของลูกค้า
สายเหตุของการ Overdose มักมาจากการนอนก้นของสารกันไฟฟ้าสถิตในเครื่องผสมและในถังเม็ดพลาสติกขณะกำลังผลิต เนื่องจากเม็ดพลาสติกทั่วไปมีความหนาแน่นน้อยกว่าและมีผลึกที่ใหญ่กว่า Master Batch ซึ่งสามารถแก้ปัญหาเม็ดสารกันไฟฟ้าสถิตนอนก้นได้โดยการลดขนาดการผสมต่อครั้ง
เครื่องวัดค่ากันไฟฟ้าสถิตอย่างละเอียด สามารถวัดค่าความชื้น อุณหภูมิ และค่ากันไฟฟ้าสถิตในเครื่องเดียว
การวัดค่ากันไฟฟ้าสถิตต้องอาศัยปัจจัยสภาพแวดล้อมต่างๆได้แก่ อุณหภูมิและความชื้นของห้องที่ทำการทดสอบ ถ้าหากความชื้นของห้องสูงจะทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตได้ยากกว่าเนื่องจากความชื่นในอากาศสามารถนำไฟฟ้าได้บางส่วนทำให้ ไม่มีประจุไฟฟ้าสะสมบนพื้นผิวของถุงพลาสติก
โดยเครื่องวัดค่ากันไฟฟ้าสถิตของ Desco จะเป็นการวัดค่า Surface Resistance หรือค่าความต้านทานบนพื้นผิวด้วยความแม่นยำสูง(ความคลาดเคลื่อนเพียงแค่ 10%) วิธีการใช้งานคือให้วางแท่นกดสีเหลืองที่มีน้ำหนัก 0.5 กิโลกรัม บนผิวพลาสติกห่างกัน 1 ฟุต และกดปุ่มสีแดงค้างไว้ เพื่อให้เครื่องทำการไล่วัดค่าต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการเกิดประจุไฟฟ้าบนพื้นผิว ได้แก่
- ค่าอุณหภูมิ(องศาฟาเรนไฮต์)
- ค่าอุณหภูมิ(องศาเซลเซียส)
- ค่าความชื้นสัมพัทธ์ (RH : relative humidity)
- ค่าความต้านทานพื้นผิว (วัดด้วยความต่างศักดิ์ 10V)
- ค่าความต้านทานพื้นผิว (วัดด้วยความต่างศักดิ์ 100V)
ซึ่งการวัดค่ากันไฟฟ้าสถิตด้วยความต่างศักดิ์ไฟฟ้าที่สูงกว่า จะให้ค่าความต้านทานพื้นผิวหรือค่ากันไฟฟ้าสถิตที่แม่นยำกว่า การวัดด้วยความต่างศักดิ์ที่ต่ำกว่า(5-10 V สำหรับเครื่องวัดค่าความต้านทานพื้นผิวทั่วไป) ซึ่งมีเฉพาะในเครื่องวัดค่ากันไฟฟ้าสถิตแบบทุ่นกดเท่านั้น
เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของห้องระบบปิด
ในการผลิต ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต สำหรับขั้นตอนการวัดค่ากันไฟฟ้าสถิต จะต้องมีการควบคุมความชื้นในห้องที่ทำการทดสอบ ซึ่งค่าความชื้นที่แตกต่างกัน จะทำให้เครื่องวัดค่าความต้านทานพื้นผิวอ่านค่าได้ต่างกัน โดยห้องที่มีอากาศที่แห้งกว่าจะสามารถเกิดไฟฟ้าสถิตได้ง่ายกว่าห้องที่มีสภาพความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า ซึ่งโรงงานผลิต ถุงพลาสติกป้องกันไฟฟ้าสถิตไทยฮง มีการควบคุมความชื้นของห้องที่ทำการวัดค่าให้ไม่เกิน RH 50% ในขณะที่ทำการทดสอบ ไม่เช่นนั้นอาจจะไม่สามารถวัดค่าที่ถูกต้องได้ตามมาตรฐานการทดสอบความต้านทานพื้นผิว ASTM D257 เนื่องจากความชื้นในอากาศจะทำให้ความต้านทานพื้นผิวลดลงและยากต่อการเกิดไฟฟ้าสถิต
การดูแลรักษาความสะอาดของเครื่องจักร
ผู้ใช้งาน ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิตย์หลายรายน่าจะเคยประสบปัญหามีเศษผงสีขาวๆติดอยู่บนเนื้อฟิล์มพลาสติก ซึ่งเศษผงสีขาวเหล่านั้นคือสารกันไฟฟ้าสถิตย์ประเภทไขมันกรีเซอไรด์ที่จับตัวกัน สะสมจนเป็นก้อนเนื่องจากการเสียดสีกับเครื่องจักร ถ้าหากปล่อยให้สารกันไฟฟ้าสถิตย์สะสมตามลูกกลิ้งหรือข้อต่อต่างๆไปเรื่อยๆก็จะถึงจุดอิ่มตัวที่จะหลุดออกมาติดบนถุงพลาสติก ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดบริเวณด้านนอกของถุงพลาสติก แต่ทางโรงงานผลิตถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิต ไทยฮง ให้ความสำคัญกับความสะอาดทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งจะมีรายการจุดที่เกิดการเสียดสีกับพลาสติกที่ต้องทำความสะอาดเป็นประจำดังนี้
- ลูกกลิ้งยางด้านท้ายดึงพลาสติกเข้าเครื่อง
- ลูกยางกดปั๊มทองเหลือง
- ลูกกลิ้งยางด้านหน้าเครื่องตัดที่ประคองพลาสติกเข้าใบมีด
- ลูกฟรีบริเวณระหว่างลูกกลิ้งยางด้านท้ายและปั๊มทองเหลือง
- ใบมีดของเครื่องตัดถุงพลาสติก
ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิตถาวร (Anti static Permanent)
ลักษณะความแตกต่างระหว่างถุงกันไฟฟ้าสถิตแบบทั่วไปและถุงกันไฟฟ้าสถิตแบบถาวรคือ ถุงพลาสติกกันไฟฟ้าสถิตธรรมดาจะทำงานโดยการ Migration ให้ Anti static Agent ซึมออกมาเคลือบผิวพลาสติก แต่ถุงกันไฟฟ้าสถิตถาวรจะเป็นการทำให้พื้นผิวของพลาสติกสามารถนำไฟฟ้าได้ด้วยตัวเอง ซึ่งลักษณะการทำงานของสารกันไฟฟ้าสถิตนี้ ทำให้ ถุงกันไฟฟ้าสถิต แบบถาวร สามารถทนต่อการบรรจุสารเคมีต่างๆ เช่น Solvent หรือตัวทำละลายในอุตสาหกรรมสีน้ำมัน หรือตัวทำละลายอื่นๆที่มีความเป็นฉนวนไฟฟ้า และมีความไวไฟสูง ซึ่งเมื่อเกิดการสะสมของประจุไฟฟ้าจากการเสียดสี (ถึงระดับ 20000-30000 Volt) จะทำให้เกิดอันตรายได้ต่อวัสดุดังต่อไปนี้
- สารระเหย